Archive for category Uncategorized

การดำเนินวิถีชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

การดำเนินวิถีชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการดำเนินวิถีชีวิตที่มีความหลากหลายตามบริบทของตนเอง ครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น อำเภอ/เขต จังหวัด ภูมิภาค ประเทศ ทวีป และของโลกเป็นต้น และการดำเนินวิถีชีวิตดังกล่าวก็ไม่เป็นสูตรสำเร็จแต่ประการใด แต่ควรเทียบเคียงหรืออิงหลักปรัชญาทฤษฎีของเศรษฐกิจพอเพียงที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยและผู้สนใจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต และปรับใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล ยุคสมัย เหตุการณ์บ้านเมือง และของโลก ประการสำคัญ ควรคำนึงถึงผลกระทบ ไม่สุดโต่งและความมั่นคงและยั่งยืนของส่วนรวมเป็นสำคัญ และแนวทางหนึ่งของการดำเนินวิถีชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่ขอยกเป็นตัวอย่าง ที่ได้เรียนรู้มาจากนักวิชาการ ปราชน์ของแผ่นดิน ภูมิปัญญา และมีโอกาศได้เรียนรู้ ได้ทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง และเห็นว่าเป็นแนวการดำเนินวิถีชีวิตที่ได้ผล ได้แก่ การลดปัจจัยนำเข้าจากภายนอก ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด พึ่งพาตนเอง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาศในทางสร้างสรรค์ ในส่วนของการลดการนำเข้าจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ การลดการนำเข้าจากต่างครัวเรือน ต่างโรงเรียน ต่างชุมชน ต่างหมู่บ้าน ต่างท้องถิ่น ต่างอำเภอ/เขต ต่างจังหวัด ต่างภูมิภาค ต่างประเทศ และต่างทวีปเป็นต้น เพราะการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ จากการนำเข้าจากภายนอกต้องใช้ทรัพยากรและพลังาน สิ้นเปลือง มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหาอื่น ๆ ตามมา การใช้ปัจจัยจากภายในก่อให้เกิดการประหยัด ไม่สิ้นเปลืองมากจนเกินความจำเป็น เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงด้านอื่น ๆ ทั้งระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ท้องถิ่น อำเภอ/เขต จังหวัด ภูมิภาค ประเทศ ทรีป และของโลกในที่สุด

กิจกรรมพื้นฐานของการดำเนินวิถีชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ลดปัจจัยนำเข้า พึ่งพาตนเอง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างประหยัดและคุ้มค่า ขยายโอกาศกิจกรรมสร้างสรรค์ ใช้ความรู้ควบคู่คุณธรรม   ซึ่งมีกิจกรรมย่อย ๆ อีกมากมายตามความจำเป็นและความเหมาะสมกับบริบท (เหตุปัจจัย) ของตนเอง ครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค ประเทศ และของโลก โดยการดำเนินการต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ ด้วยว่ามีความคุ้มค่า หรือก่อให้เกิดผลเสียหายหรือไม่ กับใคร แค่ไหน และอย่างไร โดยประเด็นหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณาประกอบการดำเนินการก็คือหลักการทางศานา หรือที่เรียกว่าหลักคุณธรรม รวมไปถึงความสอดคล้องกับขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี วัฒนธรรม และหลักกฏหมาย เพราะประเทศไทยเราเป็นนิติรัฐ มีกฏหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายสูงสุด ทุกคนอยู่ภายใต้กฏหมายฉบับเดียวกัน (เสมอภาคทางกฏหมาย) โดยพิจารณาว่ากิจกรรมที่ดำเนินการ/ปฏิบัติสมควรดำเนินการต่อไป ต้องแก้ไขปรับปรุง สมควรยกเลิก/ยุติกิจกรรม หรือสมควรดำเนินกิจกรรมต่อไป

ตังอย่าง กิจกรรมพื้นฐานของการดำเนินวิถีชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่กิจกรรมกลุ่มสหกรณ์ต่าง ๆ   กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มกิจกรรมการผลิต กลุ่มกิจกรรมร้านค้า หรือกลุ่มสหกรณ์บริการ กิจกรรมวิสาหกิจชุมชน  กิจกรรมทางการเกษตร อันได้แก่กิจกรรมธุรกิจการเกษตร  กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กิจกรรมเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารพิษ กิจกรรมชีววิถี

ใส่ความเห็น

3 ห่วง 2 เงื่อน หมายถึงอะำไร

3 ห่วง หมายถึง องค์ประกอบหลัก 3 ประการของความหมายเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
ก) ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ข) ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ
ค) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

2 เงื่อน หมายถึง เงื่อนไขอันเป็นพื้นฐานในการคิดตัดสินใจทำกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงประกอบด้วย 2 เงื่อนไขได้แก่
ก) คุณธรรม ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ข) ความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

ใส่ความเห็น

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่สำคัญมี 5 ประการ ได้แก่

1.   ทางสายกลาง หมายถึง การตั้งอยู่ในความไม่ประมาทพึ่งตนเองให้มากขึ้น ในทุกระดับ
2.   ความสมดุลและความยั่งยืน หมายถึงการเน้นการพัฒนาลักษณะองค์รวม ความพอดี พอเหมาะ  มีความหลากหลาย และกลมกลืน มีความยั่งยืน ปกป้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.  ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล  หมายถึง ไม่โลภ ไม่ฟุ้งเฟ้อ รู้จักพอ มีเหตุผล มีความพอประมาณ
4.  ภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันโลก หมายถึง มีความรอบคอบ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งแวดล้อมภายนอก สามารถป้องกัน หรือลดผลกระทบ อันเกิดจาก ความผันผวน   หรือความผกผันของโลกภายนอก
5.  การเสริมสร้างคุณภาพคน หมายถึง ใน คุณธรรรม ความซื่อสัตย์สุจริต มีไมตร เอื้ออาทร ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีวินัย พัฒนาปัญญาและความรู้อย่างต่อเนื่อง

ใส่ความเห็น

วีดีโอ

ใส่ความเห็น

เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร ???

เศรษฐกิจพอเพียง

  “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต
แก่ พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรง
เน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

     เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับ
ครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะ
การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
พอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุก
ขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและ
นักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วย
ความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

2 ความเห็น